พระครูรังสีโศภน

พระครูรังสีโศภน


ประวัติพระครูรังสีโศภน
        พระครูรังสีโศภน   เจ้าอาวาสวัดหารเทา  อดีตเจ้าคณะอำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง
เป็นพระเถระนักพัฒนาท่านหนึ่งในภาคใต้  ท่านมีความสามารถหลายอย่าง  ทั้งเป็นธรรมกถึกที่มีลีลาวาทศิลป์และโวหาร  ปฏิภาณในการแสดงที่เป็นเลิศ จัดเป็นพระนักเทศน์  ในระดับแนวหน้าทีเดียว  มีความขยันอดทนและเสียสละ  ทางด้านช่าง  ฝีมือก็ทำได้ไม่แพ้ช่างระดับกรรมาชีพ  ระยะเวลา 0 ปีกว่าที่ผ่านมา  ท่านได้ทำการพัฒนาคนและสถานที่ให้ทันยุคทันสมัยมาตลอด  จนมีผลงานมากมายนับไม่ถ้วน  ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้
        นามเดิม  รื่น  จุลรัตน์  เกิดวันอาทิตย์  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง  ปีชวด วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.. ๒๔๕๕ ที่บ้านหมู่ที่ ๔ ตำบล ฝาละมี  อำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง  นามบิดา  นายบัว  จุลรัตน์  นามมารดา  นางเลี่ยน  จุลรัตน์

การศึกษาเบื้องต้น
         ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดควนฝาละมี  จบชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์ปี พ.. ๒๔๖๖
บรรพชา
      เมื่ออายุ ๑๙ ปี บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ ๓ มิถุนายน พ..๒๔๗๓ โดยมีพระครูวัตตานุกูล
เจ้าอาวาสวัดควนฝาละมี เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดควนฝาละมี ด้วยเหตุที่ท่านมีอุปนิสัยเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง จึงสามารถเรียนท่องจำจำบทสวดมนต์ได้หมดทุกบททุกสูตร ตลอดถึงภาณยักษ์ในปีนั้นเอง
อุปสมบท
     อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒0 ปี วันที่ 0  มกราคม พ.ศ.๒๔๗๔  ณ  พัทธสีมาวัดควนฝาละมี โดยมีพระครูวัตตานุกูล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรัทธานุรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
     ระดับการศึกษา และในปีนั้น ได้เข้าศึกษาปริยัติธรรม ที่สำนัก วัดรัตนาราม ตำบลปากพะยูน
โดยการเดินเท้าไปเช้าเย็นกลับ ระยะทาง ๗ กิโลเมตร สอบนักธรรมชั้นตรีได้ พ..๒๔๗๕
     เมื่อสอบนักธรรมชั้นตรีได้แล้ว ก็ได้พิจารณาถึงความลำบากของพระภิกษุสามเณรของวัดควนฝาละมีที่ต้องเดินทางไปเรียนที่วัดรัตนารามไปเช้ากลับเย็น ๗ กิโลเมตร ถนนสายหารเทา-ปากพะยูน ไม่มีพาหนะ ต้องเดินบุกน้ำข้ามคลองผ่านท้องทุ่ง บางแห่งเป็นโคลน ทั้งนี้ได้ประสบกับตัวเองมาแล้ว ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรผู้มีจิตศรัทธาจะศึกษาธรรมวินัย จึงได้ขออนุมัติจากท่านพระอุปัชฌาย์เปิดโรงเรียนสอนปริยัติธรรมขึ้นที่วัด เมื่อได้รับอนุมัติก็ได้จัดทำโต๊ะ ม้านั่ง ซื้อหนังสือตำราเรียน สมุดปากกา เครื่องเขียน เท่าที่จำเป็น เพื่อให้ความสะดวกแก่ภิกษุสามเณร และได้เปิดเรียนในพรรษานั้น มีพระนักเรียน ๗ รูป สอบได้ ๕ รูป ตกไป ๒ รูป และตนเองก็ได้สอบนักธรรมชั้นโทได้ด้วย เลยทำการสนเรื่อยมา พร้อมทั้งได้พยายามฝึกฝนในการเทศน์ โดยดูแบบอย่างแนวทางในหนังสือคู่มือธรรมกถึก และได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรมหรือเทศน์ในที่ต่างๆ
บางครั้งก็ออกไปอบรมประชาชนพร้อมด้วยทางราชการจนมีความชำนาญและสำนานโวหารในการเทศน์ที่ยอดเยี่ยมอันเป็นที่ยอมรับของผู้ฟังตลอดถึงปัจจุบัน และได้รับมอบจากหัวหน้าคณะธรรมทูตสายที่ ๙ แต่ต่อมาก็ได้ลาหยุดมาหลายปี เพราะสุขภาพไม่อำนวย
            ..๒๔๗๖      หยุดการเรียน เนื่องจากการป่วย
       พ..๒๔๗๗      สอบนักธรรมชั้นเอกได้
การปกครอง
          พระที่มีพรรษามากได้ลาสิกขาบทไป ก็ได้รับมอบอำนาจจากพระอุปัชฌาย์ ให้ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล ตักเตือน พระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ให้เป็นไปด้วยดี ได้ช่วยท่านพระอุปัชฌาย์ทำงานด้านเลขานุการโดยที่ท่านดำรงอยู่ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลตลอดมา
            ..๒๔­๘๒ ได้ลาพระอุปัชฌาย์ ไปจำพรรษาที่วัดโพธิปฐมาวาส ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษาบาลีและประสบการณ์ จนได้คุ้นเคยสนิทสนมกับพระนักเทศน์ที่เก่งๆ หลายท่านด้วยกันเช่น พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านปัญญานันทะ) เป็นต้น และได้แสดงธรรมคู่กันเป็นประจำ ได้ศึกษาภาษาบาลีจนได้ฝึกหัดแปลพระธรรมบทปทัตถกถา แต่ยังไม่ทันได้เข้าสอบ   
       ..๒๔­๘๓ ได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดควนฝาละมีอีกครั้ง เนื่องจากท่านพระครูวัตตานุกูล พระอุปัชฌาย์ได้เกิดอาพาธด้วยโรคชราได้ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลอยู่เป็นเวลาหลายเดือน จนท่านพระอุปัชฌาย์ได้ถึงแก่มรณะภาพ  ตั้งใจไว้ว่า เมื่อเสร็จงานศพท่านพระอุปัชฌาย์แล้ว
จะกลับไปศึกษาภาษาบาลีสอบมหาเปรียญให้ได้ แต่ด้วยความเป็นห่วงเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน จึงได้อยู่ช่วยเหลือในด้านการศึกษาและพัฒนาวัด โดยส่วนตัวได้สร้างกุฏิถวายสงฆ์ ๑ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ขนาดยาว ๑0 เมตร กว้าง ๖ เมตร มีหน้ามุข ๑ หลัง
           ..๒๔๙๑ พระครูคณิศรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดหารเทา อดีตเจ้าคณะอำเภอปากพะยูนได้ลาสิกขาบททำให้วัดขาดผู้นำประชาชนชาวหารเทาประกอบด้วย กำนันผอม ศรีอนันท์ กำนันตำบล ฝาละมี สมัยนั้น,นายเคล้า ราชมาก,นายแสง เกิดแสงสุริยงค์ พร้อมด้วยพุทธบริษัทวัดหารเทา ไปขอนิมนต์ท่านให้ช่วยอยู่ที่วัดหารเทาเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้เจ้าอาวาสองค์ใหม่ก็ได้อยู่ที่วัดหารเทาตามนิมนต์ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ..๒๔๙๑ ถึงปีพ..๒๔๙๒ ก็ยังหาพระที่มาเป็นเจ้าอาวาสยังไม่ได้ จึงจำเป็นต้องจำพรรษาที่วัดหารเทาต่อไป พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการพัฒาวัดซ่อมแซมเสนาที่ชำรุดเพราะพื้นที่วัดส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มน้ำขังและเป็นดงหญ้า ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ก็พอใช้การได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร มีอุโบสถเป็นอาคารไม้ แต่ไม่มีฝากั้น ศาลาเปรียญอาคารไม้ยกพื้นใต้ถุนต่ำ และกุฏิที่อดีตเจ้าอาวาสเคยอยู่อาศัย มีสภาพเก่ามากแต่ใช้การได้ ก็ได้การทำการพัฒนาพื้นที่และบูรณะปฏิสังขรเสนาสนะที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ทั้งก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีก ๒-๓ หลัง ขนาด ๑ ห้องนอน และ ได้ทำการเปิดสอนปริยัติธรรมไปด้วย ในปีเดียวก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการคณะสงฆ์อำเภอปากพะยูน
             ..๒๔๙๔  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหารเทาและได้ไปทำการเปิดโรงเรียนสอนปริยัติธรรมที่วักหัวเตย ตำบลห้วยลึก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
            ..๒๔๙๗  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งองค์การศึกษาอำเภอปากพะยูน
       พ..๒๔๙๘  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นการศึกษาอำเภอปากพะยูน
       พ..๒๕0๕  ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
       พ..๒๕0๘  ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอปากพะยูน  

Continue Reading »


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น